top of page

ยิ่งดุ ลูกยิ่งดื้อ เจอแบบนี้พ่อแม่ควรรับมืออย่างไรดี?

Writer: ASTA Mammy & KidsASTA Mammy & Kids

ลูกดื้อ ไม่ค่อยเชื่อฟังเป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อยเลยนะคะ โดยเฉพาะบ้านไหนที่มีลูกวัย 2 ขวบขึ้นไปเป็นช่วงที่ลูกจะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ เขาจะมีความซุกซนและดื้อรั้นมากเป็นพิเศษ และแน่นอนว่ายังเป็นช่วงวัยที่เริ่มต่อต้านแสดงออกถึงพฤติกรรมการต่อต้านพ่อแม่ ไม่ยอมทำตาม ต่อต้านพ่อแม่ ทำให้หลายครั้งพ่อแม่อาจเลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาหรือคำพูดผิดๆที่อาจจะทำให้ลูกยิ่งมีอาการดื้อเข้าไปกันใหญ่


เเละยิ่งหากพ่อเเม่เเก้ปัญหาด้วยวิธีการไม่ถูกต้องเช่น ใช้คำพูดที่ไม่ดี ใช้ความรุนเเรง ก็จะยิ่งเป็นการทำให้พฤติกรรมของลูกเเเย่ลงไปกว่าเดิม ถ้าอย่างนั้นเเล้วพ่อเเม่จะรับมือกับปัญหาลูกดื้อ ยิ่งดุก็ยิ่งดื้อพ่อแม่ควรรับมืออย่างไร วันนี้ AsmartBrain ชวนคุณพ่อคุณแม่ตามไปหาคำตอบเรื่องนี้พร้อมกันค่ะ



ทำไมยิ่งดุ ลูกยิ่งดื้อ?

อันดับแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการดื้อ ถือว่าเป็นเรื่องปกติเเละถือว่าเป็นขั้นหนึ่งของการเจริญเติบโตในเด็กดเานอารมณ์ ความคิด อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่นๆอีกที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดพฤติกรรมดื้อ เช่น ความดื้อที่เกิดจากอารมณ์ของเด็กเองลูกอาจไม่เข้าใจหรือแยกแยะไม่ออกว่าพฤติกรรมที่ดีเเละไม่ดีเป็นอย่างไร เป็นวัยที่เด็กรู้ว่าตัวเองต้องการหรือไม่ต้องการอะไรได้แล้ว การควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ รวมไปถึงปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เป็นต้น




การเลี้ยงดู

นั่นก็เพราะ "การเลี้ยงดู" ของพ่อแม่ด้วยเหมือนกันค่ะ อาจส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมแตกต่างกันไปด้วย เช่น ถ้าพ่อแม่ทนไม่ได้กับการที่ลูกร้องไห้ และให้ลูกได้ทุกอย่างเมื่อเขาร้องไห้ลูกก็จะกลายเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ ขี้งอแง เพราะลูกเรียนรู้จากวิธีที่ผู้ใหญ่ตอบสนองต่ออารมณ์ที่เขาแสดงออก ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ดื้อดึงเกิดขึ้นได้



การสอนและการฝึกวินัย

การสอนและฝึกวินัยให้ลูกเป็นสิ่งที่พ่อแม่สามารถปลูกฝังได้ตั้งแต่ยังเด็ก เพราะจะทำให้ลูกเรียนรู้การควบคุมตัวเอง และเป็นการปลูกฝังให้เด็กมั่นใจว่าสิ่งใดควรทำ หรือไม่ควรทำบ้าง



วิธีการพูดคุยให้ลูกเชื่อฟัง

• อดทนใช้เวลาในการเรียนรู้เพื่อจะได้เข้าใจลูกให้มากขึ้น

• สอนลูกจากเหตุการณ์ที่พบเจอ

• ไม่ใส่อารมณ์กับลูก แต่ควรพูดให้ชัดเจนและจริงจัง

• หลีกเลี่ยงคำว่า "อย่า" ,"ไม่", "ห้าม"

• ไม่จู้จี้จุกจิก หรือพูดย้ำเเต่กับเรื่องเดิมๆให้ลูกฟังมากเกินไป



เมื่อคุณพ่อคุณเเม่ได้ทำความเข้าใจเเละทราบวิธีการรับมือเมื่อลูกมีพฤติกรรมดื้อและต่อต้านกันไปเเล้ว เชื่อว่าหากลูกของเราเกิดพฤติกรรมดื้อขึ้นมาก็จะสามารถรับมือเเละเข้าใจสถานการณ์นั้นได้ดีมากขึ้นนั่นเองค่ะ และต้องไม่ลืมพูดคุยกับลูกอย่างมีเหตุผล หรือควรบอกให้ลูกรับมือกับขีดจำกัดในการแสดงออกต่างๆ กำหนดกฏระเบียบที่ชัดเจนเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจเเละไว้วางใจกันในครอบครัว รับฟังลูกให้มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้ที่จะสื่อสารเเละแสดงออกถึงความต้องการของตัวเองได้อย่างถูกต้อง จะเป็นการช่วยลดพฤติกรรมดื้อในเด็กได้ คุณพ่อคุณเเม่ยังสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับวิธีการเลี้ยงดูของเเต่ละบ้านได้อีกอีกด้วยนะคะ


มากกว่า 'ของเล่น' คือเห็นคุณได้เล่นกับลูก

วันนี้คุณเล่นกับลูกแล้วหรือยัง?

- AsmartBrain -

 
 
 

Comments


bottom of page